วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

Infographic เรื่อง จำปา ๔ ต้น

ภารกิจที่ 2/1
Infographic เรื่อง จำปา ๔ ต้น



                                                                                                                       
                                                                                                                         
                                                                                                                         (นางสาวอมรรัตน์   คำอยู่)

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

วิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง จำปา ๔ ต้น

๑.วิเคราะห์ชื่อเรื่อง
          จำปา ๔ ต้น
                   ต้นดอกจำปา (จำปา) น. ต้นลั่นทม  ในภาษาลาวและภาษาถิ่นอีสาน เรียกว่า ต้นจำปา เป็นไม้ดอกยืนต้น มีดอกหลายสี หลายสายพันธุ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติลาว
                    คำว่า จำปา ๔ ต้น เป็นชื่อวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน ที่มาจากชื่อของพืช ที่มีลำต้นไม่ใหญ่มาก ลักณะแตกกิ่งเป็นพุ่ม ดอกมีกลิ่นหอม และสีแตกต่างกันทั้ง ๔ ต้น เกิดจากการนำศพของกุมารผู้มีบุญญาบาระมีทั้ง ๔ องค์ไปเผา บริเวณนั้นจึงเกิดมีต้นจำปาเกิดขึ้น ๔ ต้น ลำต้นสมบูรณ์สวยงาม และมีสีแตกต่างกันตามลำดับ คือ ต้นที่ ๑ สีขาวอ่อนบริสุทธิ์ ต้นที่ ๒ สีเหลือง ต้นที่ ๓ สีนิล ต้นที่ ๔ สีแดง จึงเป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่อง จำปา ๔ ต้น อันเป็นมรดกล้ำค่าของชาวอีสาน

๒. แก่นเรื่อง
          คนที่กระทำสิ่งดีย่อมได้ผลดีตอบแทน คนกระทำสิ่งไม่ดีผลที่ได้ย่อมเป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้ (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)

๓.โครงเรื่อง
การเปิดเรื่อง
-นำเข้าสู่เรื่อง หรือเปิดเรื่องด้วยบทไหว้ครู แล้วกล่าวถึงนครปัญจา มีกษัตริย์ปกครองคือ ท้าวจุลณี มีมเหสีชื่อนางอัคคี และนครจักขิณ กษัตริย์ปกครองคือ ท้าวจักขิณ มีมเหสี และมีบุตรตรีชื่อ นางปทุมมา (นางคำกอง)

การดำเนินเรื่อง
          -มีผีฮุ้ง (แร้งยักษ์) สองผัวเมียบินมาจับกินชาวจักขินเป็นอาหารจนตายสิ้นทั้งเมือง เหลือแค่นางปัดทุมมา (คำกอง) ที่ก่อนท้าวจักขินตายได้เอานางไปซ่อนไว้ในกลองนางจึงรอดชีวิต
-เทวดาดลใจให้ท้าวจุลณีหลงป่าไปถึงนครจักขิน จนไปพบนางปทุมมาอยู่ในกลอง จึงเปลี่ยนชื่อว่า นางคำกอง และพากลับปัญจานคร แต่งตั้งให้เป็นมเหสีฝ่ายซ้าย

การผูกปม / จุดวิกฤต
-พระอินทร์สั่งเทวบุตรทั้ง ๔ มาเกิดในท้องนางคำกอง นางอัคคีมเหสีเอกเกิดความอิจฉาริษยา นำเอาสุนัขมาแทนกุมารทั้ง ๔ และเอากุมารทั้ง ๔ ใส่ไหถ่วงน้ำ ท้าวจุลณีเข้าใจผิด จึงเนรเทศนางคำกองไปเป็นทาสเลี้ยงหมู
-ปู่ ย่า เฝ้าสวนพบกุมารทั้ง ๔ จึงนำมาเลี้ยง นางอัคคีรู้ข่าวจึงให้ทาสีนำขนมผสมยาพิษไปให้กุมารทั้ง ๔ กินจึงถึงแก่ความตาย กุมารทั้ง ๔ จึงไปเกิดเป็นจำปา ๔ ต้น นางอัคคีจึงได้สั่งคนไปโค่นและนำไปทิ้งลงน้ำ
-ฤาษีตาไฟจึงได้นำต้นจำปาทั้ง ๔ มาชุปชีวิตกลายเป็นคน และตั้งชื่อให้ว่า เสตราช ปิตราช สุวรรณราช และเพรชราช หลังจากนั้นพระอินทร์จึงแปลงร่างเป็นพราหมณ์นำเรือสำเภาพากุมารทั้ง ๔ ไปช่วยนางคำกอง
-ระหว่างการเดินทางกุมารทั้ง ๔ ได้แสดงฝีมือสู้รบกับยักษ์และมนุษย์ชนะ ได้ครอบครองเมืองทั้ง ๓ และได้ธิดาของเมืองต่างๆ เป็นชายา 

การปิดเรื่อง / การคลายปม
-กุมารทั้ง ๔ เดินทางถึงปัญจานคร ช่วยนางคำกอง ได้พบกับบิดา และเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง นางอัคคีได้รับโทษไปเป็นทาสเลี้ยงหมูตลอดชีวิตแทนนางคำกอง
-ภุมารทั้ง ๓ ลากลับไปหาชายา และครองเมืองของตน ท้าวเพรชราชครองเมืองปัญจานคร ท้าวเพรชราชเดินป่าหาคู่ครอง ผ่านไปที่เมืองจักขิณ จึงได้ใช้นิ้วเพรชชุปชีวิตชาวเมืองจักขิณกลับคืนมาทั้งหมด และได้ชายา 2 องค์ คือ นางปทุมเกษร และนางอัสมาลา ได้โอรส 2 องค์ วรรณไกรสร และอัสราชกุมาร

-ท้าวเพรชราชพาชายาทั้งสอง และโอรสกลับไปที่เมืองปัญจานคร ระหว่างทางได้พบพี่ทั้ง ๓ พร้อมโอรส จึงพร้อมกันเข้าเฝ้าท้าวจุลณี และท้าวจุลละนีพานางคำกอง โอรส สะใภ้และหลานเดินทางไปเยี่ยมท้าวจักขิณ แล้วทุกคนจึงลากลับเมืองของตน และครองบ้านเมืองอย่างมีความสุข


                                                                                                          (อมรรัตน์   คำอยู่)