วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

เพลงประกอบการละเล่นพื้นบ้าน



เพลงประกอบการละเล่นพื้นบ้าน
เพลงประกอบการละเล่นภาคเหนือ

เตยหรือหลิ่น

 ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัดตาก 
สถานที่เล่น: ลานกว้าง ที่โล่งแจ้ง
จำนวนผู้เล่น ๖-๑๒ คน 
วิธีเล่น
            ขีด เส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น (สมมติว่ามี ๖ คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง) อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหล หรือ หลิ่น ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย ก็จะเป็นฝ่ายชนะ 
โอกาส
เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป



 การละเล่นไม้หึ่ง หรืออีหึ่ง




ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัดกำแพงเพชร อุปกรณ์และวิธีการเล่น
            อุปกรณ์ ใช้ไม้ ๒ ชิ้น คือ ไม้แม่ ทำด้วยกิ่งไม้ที่หาง่ายและเหนียว มีขนาด เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑นิ้ว หรือใกล้เคียง ยาวประมาณ ๑ ศอก และ ไม้ลูก อาจนำจากไม้ท่อนเดียวกันด้านปลายของไม้แม่ยาวประมาณ ๑ คืบ ไม้ที่สามารถทำได้ เช่น ไม้มะขาม ไม้ฝรั่ง หรือไม้ไผ่ลำเล็ก ตัน คือ เป็นไม้ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น นิยมใช้ไม้สดด้วยเป็นไม้ที่ยังมีน้ำหนักและเหนียวไม่เปราะเหมาะสมกับกระบวน การเล่น
วิธีการเล่น โดยการแบ่งฝ่ายละเท่า ๆ กัน เช่น ๒ ต่อ ๒ หรือ ๓ ต่อ ๓ ฝ่ายได้เล่นก่อนจะทำการขุดร่องที่พื้นดินแข็งให้เป็นร่องยาวประมาณ ๑ คืบ ลึก ๑ นิ้วครึ่ง เป็นรางคล้ายเรือ หรือ พอเพียงกับการงัดไม้ลูกได้จากนั้นฝ่ายเริ่มจะวางไม้ลูกขวางร่องหลุมที่ขุด ไว้ แล้วใช้ไม้แม่งัดออกไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากหรือโต้กลับยาก ขณะที่งัดไม้ลูกออกไปนั้น ฝ่ายรับสามารถใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ปกป้องหรือตีโต้กลับไปยังหลุมงัด หรือใช้มือรับ จากนั้นฝ่ายเริ่มต้องวางไม้แม่ไว้ที่หลุม ฝ่ายรับจะโยนไม้ลูกให้กลับมาให้ถูกหรือปะทะให้ไม้แม่ที่วางอยู่เพื่อการชนะ ถ้าสามารถโยนลูกปะทะไม้แม่ก็จะได้กลับมาเป็นผู้เริ่มหรือผู้เสริฟ แต่ถ้าโยนไม่ถูกไม้แม่ฝ่ายเริ่มก็จะได้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป คือ นำไม้ลูกขึ้นมาเดาะโดยใช้ไม้แม่เดาะไม้ลูกให้ได้จำนวนครั้งให้ได้มากที่สุด ถ้าเดาะได้ถึง ๓ ครั้งก็จะได้ตีลูกออกไปถึง ๓ ครั้ง การตีจะ
            พยายามตีลูกออกไปยังฝ่าย ตรงข้ามให้ได้ระยะไกลที่สุดและไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ เพราะถ้ารับได้ก็จะต้องแพ้และกลับมาเป็น ผู้เริ่ม แต่ถ้ารับไม่ได้ฝ่ายเริ่มเดิมก็จะให้ตีไม้ต่อไปจนให้ครบ ๓ ครั้ง และฝ่ายรับก็จะนำไม้ลูกนั้นวิ่งกลับมายังหลุมโดยกลั้นหายใจและออกเสียงมาทาง จมูกให้มีเสียง หึ่ม มาตลอดระยะการวิ่ง ถ้าเล่นฝ่ายละหลายคนก็สามารถส่งต่อไม้กันได้และผู้รับต่อก็จะต้องหึ่มต่อ เช่นกัน ห้ามขาดเสียงหึ่มในขณะวิ่งกลับถ้าขาดเสียงหึ่มก็ถือว่าฟาวล์หรือแพ้ในเกม นั้น ผู้เริ่มเดิมก็จะได้เล่น แต่ถ้าผู้หึ่มสามารถวิ่งหึ่มมาถึงหลุมได้ก็จะชนะได้เป็นผู้เริ่มเล่นใหม่โดย ใช้วิธีเดิม (การเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่นได้)
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
            เป็นการเล่นของเด็กเล็กและเด็กโตประมาณ ๗ - ๑๕ ขวบ สามารถเล่นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายเล่นในยามว่างเพื่อสันทนาการ ความสนุกสนาน และแข่งขันกันในหมู่เล็ก สถานที่ใช้เล่นจะต้องมีบริเวณลานกว้างพอ เช่น สนามหน้าโรงเรียน ลานบ้านในหมู่บ้าน หรือลานวัด












โพงพาง








ภาค: ภาคเหนือ 
จังหวัด: ตาก 
สถานที่เล่น: สนาม,ลานกว้าง 
อุปกรณ์: ผ้าปิดตา 
จำนวนผู้เล่น: ไม่จำกัดจำนวน 
กติกา

ใครถูกจับได้ และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทน
วิธีเล่น            
หาคนที่เป็นปลาโดยการจับไม้สั้น ไม้ยาว เอาผ้าผูกตาคนที่เป็นปลา แล้วหมุน 3 รอบ ผู้เล่นคนอื่นๆ ล้อมวงจับมือกันเดินเป็นวงกลม พร้อมกับร้องเพลงประกอบ เมื่อจบเพลงถามว่า ปลาเป็นหรือปลาตายถ้าตอบว่า ปลาเป็น คนที่อยู่รอบวงจะขยับเขยื้อนหนีได้ ถ้าบอกปลาตายจะต้องนั่งอยู่เฉยๆ หากคนที่ถูกปิดตาทายถูกว่าผู้ที่ตนจับได้เป็นใคร ผู้ที่ถูกจับนั้นก็ต้องมาเป็นปลาแทน ถ้าทายผิดก็ต้องเป็นต่อไป
ทร้องประกอบการเล่น                                                                                 
"โพงพางเอย ปลาเข้าลอด  ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง  โพงพางเอย นกกระยางเข้าลอด  เสือปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง   กินปลาเป็นหรือกินปลาตาย"                                                                             
ประโยชน์ การละเล่นชนิดนี้ฝึกความสังเกต ความจำ และความมีไหวพริบ                                                                                         
โอกาส
เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป



เพลงสำหรับเล่นจ้ำจี้

            เป็นเพลงที่ใช้เพื่อคัดหาผู้มาทำการบางอย่าง เช่น หาคนมาเพื่อปิดตา เป็นต้น เช่น

1.       ปู่พงข้ามท่งข้ามนา ตีกลองปูชา เอาอี่พาออกก่อน

2.       ปะเปิ้มใบพลู คนใดมาชู เอามือออกก่อน

3.     เมื่อเหลือสองคนสุดท้ายแล้ว ก็มักจะร้องว่า สองฅนพี่น้อง กินเข้ากับเกลือ ฅนใดเหลือ ฅนนั้นได้อุ่ม









   

  เพลงประกอบการละเล่นภาคกลาง

การละเล่นภาคกลาง จ้ำจี้มะเขือเปราะ



เพลงจ้ำจี้มะเขือเปราะ
"จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น
พายเรืออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม
สาวๆ หนุ่มๆ อาบน้ำท่าไหน
อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด
เอากระจกที่ไหนล่อง เยี่ยมๆ มองๆ นกขุนทองร้องฮู้
จำนวนผู้เล่น ประมาณ 2-3 คนขึ้นไป

วิธีเล่น

ผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน คว่ำมือทั้งสองลงบนพื้น คนหนึ่งเป็นคนจี้ โดยใช้นิ้วชี้จิ้มไปที่นิ้วของผู้เล่นไล่ไปทีละนิ้วให้รอบวง พร้อมทั้งร้องเพลงไปด้วย เมื่อร้องจบแล้ว จิ้มอยู่ที่นิ้วใดคนนั้นต้องพับนิ้วนั้นเข้าไป ผู้จิ้มก็เริ่มเล่นใหม่ไปเรื่อยๆ ใครต้องพับนิ้วทั้งหมดเป็นคนแรกแพ้





เพลงประกอบการละเล่นภาคกลางูกินหาง



เพลงประกอบการเล่น
พ่องู :
แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน
แม่งู :
กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมาพร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู :
แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน
แม่งู :
กินน้ำบ่อหินบินไปบินมาพร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู :
แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน
แม่งู :
กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมาพร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู :
กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว
วิธีการเล่น
ผู้เล่นมีจำนวน 8-10 คน แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย
ฝ่ายที่ 1 จะต้องเป็น
พ่องู1 คน ฝ่ายที่ 2 มี แม่งู1 คน ที่เหลือเป็น ลูกงูซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้องเกาะเอวผู้เล่นเป็นแม่งู
จากนั้น พ่องูเริ่มถามว่า
แม่งูเอ๋ยแม่งูและลูกงูก็ร้องตอบว่า เอ๋ยพอช่วงท้ายพ่องูถามว่า กินหัว กินหางแม่งูตอบว่า กินกลางตลอดตัวพ่องูก็จะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อป้องกันลูก หากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุดออกจากแถวไป ก็จะต้องออกจากการเล่น
ผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีกจนกว่าลูกงูจะถูกจับจนหมด



เพลงประกอบการละเล่นภาคกลาง มอญซ่อนผ้า
      

  เพลงประกอบการเล่น
        "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง  ใครเผลอคอยระวัง ใครเผลอคอยระวัง ตุ๊กตาอยู่ข้างหลังระวังจะถูกตี”  

อุปกรณ์
        ผ้าเช็ดหน้าขนาดใหญ่หนึ่งผืน ไม่ต้องขมวดหรือพันให้เป็นเกลียว เพราะถ้าฟาดถูกผู้ใดเข้าแล้วจะเจ็บ

        
วิธีเล่น
        ขั้นที่ ๑ ให้ผู้เล่นทั้งหมดจับไม้สั้นไม้ยาว ผู้ที่ได้ไม้สั้นที่สุด ถือผ้าเช็ดหน้าที่เตรียมไว้แล้วออกไปยืนข้างนอก ที่เหลือนอกนั้นนั่งกันเป็นวงกลม หันหน้าเข้าหากัน ในระยะห่างกันประมาณ ๑ ศอก เอามือทั้งสองพาดไว้ที่ตัก คุยกันหรือร้องเพลงก็ได้ เพื่อความรื่นเริง
        ขั้นที่ ๒ ให้ผู้ถือผ้าบังตัวไว้มิให้ผู้นั่งเห็นได้ถนัด แล้วเดินหรือวิ่งไปรอบๆ วงต้องทำท่าหรือหน้าตาให้สนิท เดินบ้างวิ่งบ้าง ทำเป็นวางผ้าแต่ไม่วาง เพื่อหลอกล่อผู้ที่นั่งให้เผลอตัวเมื่อเห็นเป็นโอกาสแล้วก็แอบหย่อนผ้าลงไว้ ใกล้หลังผู้นั่งคนใดคนหนึ่ง เมื่อวางผ้าแล้วควรเดินหรือวิ่งให้เร็วต่อไปเพื่อกลับถึงที่เดิมโดยมิให้ผู้ นั้นต้องรู้ตัว
        ขั้นที่ ๓ ถ้าผู้ถูกวางผ้าข้างหลังรู้สึกตัวเสียก่อนผู้วางผ้ามาถึง ก็ต้องรีบฉวยผ้าวิ่งมานั่งแทนที่ของตนได้ แล้วจึงเดินหาโอกาสวางผ้าไว้ข้างหลังผู้หนึ่งผู้ใดต่อไป แต่ถ้าถูกวางข้างหลังไม่รู้สึกตัว จนผู้ที่วางวิ่งมาถึงก็หยิบผ้าที่วางนั้นขึ้นฟาดผู้ถูกวางจนกว่าจะลุกขึ้น รับผ้าออกเดิน ผู้วางจึงลงนั่งแทนที่
ข้อระวังในการเล่น ผู้นั่งทุกคนจะหันหน้าไปดูข้างหลังไม่ได้ ถ้าหากสงสัยว่าจะมีผ้าอยู่ข้างหลังตนหรือไม่ก็ให้ใช้มือคลำดูเท่านั้น ผู้ถือต้องวางผ้าลงข้างหลังให้ใกล้ตัวผู้นั่ง จะวางเกินกว่า ๑ ศอกไม่ได้และให้วิ่งหรือเดินต่อไปข้างหน้าจนบรรจบรอบ จะหันหลังเดินย้อนมาไม่ได้
                                       

เพลงประกอบการเล่นภาคกลาง รีรีข้าวสาร


      เพลงประกอบการเล่น
       "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
       เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน
       คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว้"

  วิธีเล่น
      1. ผู้เล่น 2 คนยืนหันหน้าเข้าหากันโน้มตัวประสานมือกันเป็นรูปซุ้ม
      2. ส่วนผู้อื่นเกาะเอวต่อ ๆ กันตามลำดับ
      3. หัวแถวจะพาลอดใต้ซุ้มมือพร้อมกับร้องบทร้องประกอบการเล่น
      4.
เมื่อร้องถึงประโยคที่ว่า คอยพานคนข้างหลังไว้ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันคนสุดท้ายไว้ ซึ่งคนสุดท้ายจะถูกคัดออกไปจากแถว แล้วจึงเริ่มต้นเล่นใหม่ทำเช่นนั้นจนหมดคน

      
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
      1. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
      2. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
      3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
      4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้



เพลงประกอบการละเล่นภาคอีสาน

จี่จับ



ภาค      : ภาคอีสาน                                    
สถานที่เล่น   : สนาม,ลานกว้าง                
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวน 
กติกา
: ใครถูกจับได้ จะต้องเป็นหนอน วิธีเล่น            
หาคนที่เป็นผู้เอาฝ่ามือมาจับเพื่อนโดยการเล่น โออิหล่าตาแป๊ะ แล้วให้คนที่แพ้มาใช้มือคว่ำลงประมาณศีรษะ จากนั้นให้เพื่อนนำนิ้วชี้มาไว้ใต้ฝ่ามือของเพื่อน แล้วร้องเพลงเพื่อหาคนที่จะไปเป็นหนอน  นิ้วชี้ของใครถูกฝ่ามือเพื่อนจับไว้ได้ ก็เป็นหนอน  แล้วไปนับเลขหนึ่งถึงสิบเพื่อให้เพื่อนไปซ่อนตัว เมื่อนับครบถึงสิบก็ตามหาเพื่อน ถ้าเจอเพื่อนคนใดก็ให้บอกว่า โป้ง แล้วตามด้วยชื่อเพื่อน แล้วคนนั้นก็จะเป็นหนอน แต่ถ้ามีเพื่อนมาแตะเราได้ก่อนเราก็จะต้องเป็นหนอนต่อไป เพลงโออิหล่าตาแป๊ะ
            เป็นเพลงที่ใช้เพื่อคัดหาผู้มาทำการบางอย่าง เช่น หาคนแพ้             - โออิหล่าตาแปะ บทร้องประกอบการเล่นจี่จับ            
“จี่มะลี่จี่จับ   ไม้ล้มทับ  สวัสดีครับ  ผุได๋ถูกจับให้มู่แล่นลี้”
ประโยชน์
            การละเล่นชนิดนี้จะฝึกความมีไหวพริบ  รวดเร็ว  การสังเกต และเพื่อความสนุกสนาน
โอกาส
            เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป






 สมาชิกในกลุ่ม เพลงพื้นบ้าน
ประเภท เพลงประกอบการละเล่น

1. นางสาวสุธิดา            จันทะรา             รหัสนักศึกษา        57210406108          หมู่   1

2. นางสาวปณิดา           เผ่ามงคล            รหัสนักศึกษา        57210406109         หมู่  1
3. นายอภิศักดิ์              โถแก้วเขียว          รหัสนักศึกษา        57210406115          หมู่   1
4. นางสาวสุภาวดี           เวงวิถา              รหัสนักศึกษา        57210406126          หมู่   1
     5. นายณรงค์ชัย      รุทชาติ               รหัสนักศึกษา      57210406132          หมู่   1
6. นางสาวปิยะพร          ภูชมศรี               รหัสนักศึกษา        57210403424         หมู่  1
7. นางสาวญาณัฉรา       โถชัยคำ              รหัสนักศึกษา       57210406201          หมู่   2
8. นางสาวจินตนาพร       หล่อยดา            รหัสนักศึกษา        57210406202          หมู่  2
9. นางสาววิชุดา             ผาทอง              รหัสนักศึกษา        57210406208         หมู่   2
10. นางสาวอมรรัตน์       คำอยู่                รหัสนักศึกษา       57210406216           หมู่   2
  11. นางสาวปิยะดา          เสียงสาว            รหัสนักศึกษา       57210406227        หมู่  2 
12. นางสาวอินทุอร         กุลชโมรินทร์      รหัสนักศึกษา       57210406230        หมู่  2
  13 .นางสาวรัตชะตาพร     อิมเพชร์             รหัสนักศึกษา      57210406233        หมู่  2   

            นักศึกษาชั้นปีที่  3  

เสนอ
อาจารย์วัชรวร    วงศ์กันหา






วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560

ภาระกิจพิเศษ สรุปเนื้อหาวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่องจำปา ๔ ต้น




วิชาวรรณกรรมท้องถิ่น

เรื่อง จำปา ๔ ต้น

 

 

 

จัดทำโดย

นางสาวอมรรัตน์    คำอยู่  สาขาวิชาภาษาไทย

คณะครุศาสตร์  หมู่    ชั้นปี    รหัสนักศึกษา ๕๗๒๑๐๔๐๖๒๑๖

 

 

 

 

 

เสนอ

อาจารย์วัชรวร   วงศ์กัณหา

 

 

 

 

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น
ภาคเรียนที่
  ปีการศึกษา ๒๕๕๙
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์



 คำนำ

            รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา วรรณกรรมท้องถิ่น เป็นการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองนี้เกี่ยวกับเรื่องจำปา ๔ ต้น  ซึ่งเป็นนิทานพื้นบ้านที่มีเนื้อหาของวรรณกรรมพื้นบ้าน อีกทั้งทำให้มีความรู้และเป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจต่อไป

           การศึกษานี้ ได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำเป็นอย่างดี จากท่านอาจารย์วัชรวร  วงศ์กัณหา   
ที่ให้คำแนะนำในการรวบรวม
  ผู้จัดทำจึงใคร่ขอขอบพระคุณทุกท่านมา    โอกาสนี้ด้วย

 

                                                                                                                                    ผู้จัดทำ
                                                                                                                         อมรรัตน์      คำอยู่












ภาระกิจพิเศษ สรุปเนื้อหาวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่องจำปา ๔ ต้น


 บทที่ ๑ 
สรุปเนื้อหาวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง
  จำปา ๔ ต้น





๑.๑ เรื่องย่อ นิทานจำปา ๔ ต้น
            เมืองจักขินมีความเจริญรุ่งเรืองมาก  มีพ่อค้าวาณิชไปมาค้าขายอย่างเนืองแน่น  อยู่ต่อมามีพญาฮุ้ง(เหยี่ยวรุ้ง)มาจับคนในเมืองกินทุกวัน เจ้าเมืองไม่อาจจะต่อกรกับพญาฮุ้งได้ มีผู้วิเศษอาสาต่อกรกับพญาฮุ้ง ก็ถูกจับกินจนหมดสิ้น เจ้าเมืองจึงนำพระธิดาชื่อนางปทุมา ซ่อนไว้ในกลองยักษ์กลางเมือง พญาฮุ้งได้มาจับผู้คนกินจนกลายเป็นเมืองร้าง ประชาชนที่เหลืออยู่ต่างก็หนีไปอยู่เมืองอื่น

              ท้าวจุลละนีครองเมืองปัญจานครออกประพาสป่าล่าสัตว์ ได้หลงเข้ามายังเมืองร้าง จึงพาเสนาสำรวจบ้านเมืองพบกลองใบใหญ่อยู่กลางเมือง จึงได้ตีกลองเพื่อจะเป็นสัญญาณให้รู้ว่ามีคนมา ครั้นตีกลองได้ยินเสียงหญิงสาวร้องอยู่ในกลองจึงใช้พระขรรค์ผ่าหนังหน้ากลองพบนางปทุมาเมื่อนำออกมาถามไถ่ได้ความว่าพญาฮุ้งจะมากินคนเมื่อได้ยินเสียงกลอง  พระบิดานำนางมาไว้ในกลองเพราะโหรได้ทำนายว่าจะมีผู้วิเศษมาปราบพญาฮุ้งได้  เมื่อพญาฮุ้งบินมา  ท้าวจุลละนีก็ฆ่าตายต่อหน้านางปทุมา

                ท้าวจุลละนีจึงรับนางปทุมาเป็นชายาพากลับเมืองปัญจานคร  ท้าวจุลละนีมีมเหสีฝ่ายขวาก่อนแล้วชื่อว่า  นางอัคคี  ทั้งสองก็รักใคร่ปรองดองกันดี  ครั้งเมื่อนางปทุมาตั้งครรภ์  ฝันว่าพระอินทร์เอาแก้วมาให้ ๔  ดวง  โหรทำนายว่าจะได้โอรสมีบุญบารมีมาก  นางอัคคีอิจฉาเพราะนางไม่มีโอรส  แต่กระนั้นก็ตามนางก็ยังทำดีต่อนางปทุมาเสมอต้นเสมอปลาย
               ครั้งเมื่อนางปทุมา  จะประสูติโอรส  นางอัคคีก็ออกอุบายเอาผ้าปิดตาปิดหูนางปทุมา  โดยอ้างว่าเป็นพระราชประเพณีของเมืองปัญจานคร  นางก็เอาลูกสุนัขมาเปลี่ยนลูกนางปทุมา  แล้วให้นางทาสีนำกุมารทั้งสี่ไปลอยแพทิ้งน้ำไป  เมื่อท้าวจุลละนีทราบว่านางปทุมาคลอดบุตรเป็นสุนัขก็กริ้ว  กล่าวหาว่านางสมสู่กับสุนัขจึงขับไล่ไปจากเมือง  นางปทุมาอุ้มลูกสุนัขโดยเข้าใจว่าเป็นลูกของตนไปอาศัยอยู่กับหญิงม่ายซึ่งเป็นคนใจร้าย  ใช้นางทำงานหนักจนซูบผอม
                 กล่าวถึงกุมารทั้งสี่ถูกลอยแพ  แพได้ลอยไปติดอยู่ที่ท่าน้ำบ้านตายาย  ตายายเห็นเป็นกุมารหน้าตาดีจึงเลี้ยงไว้ด้วยไว้ด้วยความเอ็นดู  ความทราบถึงนางอัคคีว่ากุมารที่สี่ยังไม่ตาย  จึงให้นางทาสีนำอาหารใส่ยาพิษมาให้กุมาร  ตายายกลับจากนาเห็นกุมารทั้งสี่นอนตายกอดกันกลมก็โศกเศร้าสงสารจึงนำไปฝังเรียงกันทั้ง    ศพ กาลเวลาผ่านไปไม่นานก็เกิดเป็นต้นจำปาสี่ต้น   ตายายดีใจที่ยังเห็นหลานทั้งสี่มีชีวิตอยู่จึง หมั่นรดน้ำพรวนดินต้นจำปาจนงอกงาม  นางอัคคีทราบความอีกจึงสั่งให้เสนามาโค่นต้นจำปานำไปทิ้งน้ำเสีย  ต้นจำปาลอยน้ำไปติดอยู่หน้าอาศรมฤาษี  ฤาษีใช้มีดตัดต้นจำปาเห็นมีเลือดออกจึงรู้ว่าไม่ใช่ต้นจำปาทั่วไป  พระฤาษีจึงเสกให้เป็นคนเหมือนเดิม  ส่วนเจ้าคนเล็กนิ้วขาดเพราะพระฤาษีตัดตอนเป็นต้นจำปา  พระฤาษีจึงต่อนิ้วเพชรมีอิทธิฤทธิ์  ชี้ตายชี้เป็น  พระฤาษีสอนวิชาอาคมต่างๆ  แก่กุมารทั้งสี่  ตั้งชื่อว่า  จำปาทอง  จำปาเงิน  จำปานิล  และคนเล็กชื่อเจ้านล
                พระอินทร์ทราบว่านางปทุมาได้รับความลำบากมาก  จึงปลอมเป็นชีปะขาวเล่าเรื่องให้กุมารทั้งสี่ฟัง  กุมารทั้งสี่จึงขอลาพระฤาษีติดตามมารดา  ระหว่างทางเดินเข้าเมืองยักษ์  เจ้านลได้ชี้นิ้วเพชรปราบยักษ์และชุบชีวิตยักษ์จนยักษ์ยกเมืองและธิดาให้  เจ้านลก็ให้พี่ๆ  ได้ครองเมืองได้พระธิดาเป็นชายาทั้งสามเมืองที่ผ่านมา  แต่ก็ได้พำนักอยู่แต่ละเมืองไม่นานก็ลาไปติดตามมารดา
                พระอินทร์ชีปะขาวมาส่งถึงเมืองปัญจานคร  และบอกให้สี่กุมารปลอมตัวเป็นยาจกไปอาศัยอยู่กับยายเฒ่าเฝ้าสวน  และสืบหามารดาจนพบว่าเป็นทาสีซูบผอม  เมื่อทราบที่อยู่ของมารดาแล้วก็แต่งเครื่องทรงกษัตริย์สั่งให้ยายเฒ่าเฝ้าสวนพาไปพบมารดา  เมื่อแม่ลูกพบกันและเล่าเรื่องแต่หนหลังก็โศกเศร้าอาดรู สี่กุมารให้ทรัพย์สินตอบแทนยายเฒ่าเฝ้าสวนจำนวนมาก  และลงโทษหญิงม่ายใจร้ายที่ทารุณกรรมมารดาอย่างสาสม
                เจ้านลคิดแค้นนางอัคคีมาก  จึงชวนพี่ทั้งสามเหาะไปยังปราสาทแล้วเขียนสารถึงบิดาไว้ที่แท่นบรรทม  ให้ส่งตัวนางอัคคีและนางทาสีคนสนิทไปลงโทษและบอกความจริงทุกประการ
                ท้าวจุลละนีทราบดังนั้นก็ดีพระทัยที่โอรสทั้งสี่ยังมีชีวิตอยู่  วันรุ่งขึ้นจึงจับนางอัคคีและนางทาสีไปให้กุมารลงโทษ  สี่กุมารจึงตัดสินให้ลอยแพนางอัคคีและนางทาสีไปในทะเลตามยถากรรม  หลังจากนั้นพระองค์ก็นำราชรถไปรับนางปทุมากลับนคร

                สี่กุมารก็พาพระมารดาเข้าเมืองพร้อมกับท้าวจุลละนีและให้ไปรับตายายที่เลี้ยงดูตนมาอยู่ในวัง  ส่วนพี่ทั้งสามก็ขอลาไปปกครองบ้านเมืองกับพระชายาส่วนเจ้านลก็ครองเมืองปัญจานครแทนบิดาสืบไป

 ๑.๒ ที่มาของหนังสือ 
            ๑.๑) ต้นฉบับ เรื่อง จำปาสี่ต้น พบที่ ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ จารึกบนใบลานด้วยอักษรไทยน้อย เป็นนิทานเลียนแบบชาดก
        ๑.๒) ยุคสมัยที่แต่ง ประมาณ พ.ศ. ๒๑๐๖ ตรงกับสมัย พระมหาจักรพรรดิและประมาณ พ.ศ. ๒๓๐๒ พระวอ-พระตา ได้อพยพหนีจากการปกครองพระเจ้าสิริบุญสาร มาที่เมืองจำปานคร กาบแก้วบัวบาน ได้บูรณะสร้างบ้านแปลงเมือง แล้วตั้งชื่อว่า นครเขื่อนขัน กาบแก้วบัวบาน ตรงกับสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๔ พระประทุมเทวาภิบาลเจ้าเมืองหนองคาย ได้แต่งตั้งพระวิชโยดม กมุทเขตมาครองเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ฐานะเป็นเมืองเอก และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองกมุทธาสัยพ.ศ. ๒๔๔๙

๑.๓ แต่งและเรียบเรียงโดย กำพล     สมรัตน์

๑.๔ สำนักพิมพ์ บริษัท ขอนแก่น คลังนานาธรรม จำกัด

๑.๕ ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๔




 
บทที่ ๒
วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
                                                     
๒.๑ วิเคราะห์ชื่อเรื่อง จำปา ๔ ต้น
                   ต้นดอกจำปา (จำปา) น. ต้นลั่นทม  ในภาษาลาวและภาษาถิ่นอีสาน เรียกว่า ต้นจำปา เป็นไม้ดอกยืนต้น มีดอกหลายสี หลายสายพันธุ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติลาว
                    คำว่า จำปา ๔ ต้น เป็นชื่อวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน ที่มาจากชื่อของพืช ที่มีลำต้นไม่ใหญ่มาก ลักณะแตกกิ่งเป็นพุ่ม ดอกมีกลิ่นหอม และสีแตกต่างกันทั้ง ๔ ต้น เกิดจากการนำศพของกุมารผู้มีบุญญาบาระมีทั้ง ๔ องค์ไปเผา บริเวณนั้นจึงเกิดมีต้นจำปาเกิดขึ้น ๔ ต้น ลำต้นสมบูรณ์สวยงาม และมีสีแตกต่างกันตามลำดับ คือ ต้นที่ ๑ สีขาวอ่อนบริสุทธิ์ ต้นที่ ๒ สีเหลือง ต้นที่ ๓ สีนิล ต้นที่ ๔ สีแดง จึงเป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่อง จำปา ๔ ต้น อันเป็นมรดกล้ำค่าของชาวอีสาน
 
๒.๒ แก่นเรื่อง
          - คนที่กระทำสิ่งดีย่อมได้ผลดีตอบแทน คนกระทำสิ่งไม่ดีผลที่ได้ย่อมเป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้ (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)
 
๒.๓ โครงเรื่อง  (ดำเนินเรื่องตามลำดับเวลา)
การเปิดเรื่อง
- นำเข้าสู่เรื่อง หรือเปิดเรื่องด้วยบทไหว้ครู แล้วกล่าวถึงนครปัญจา มีกษัตริย์ปกครองคือ ท้าวจุลณี มีมเหสีชื่อนางอัคคี และนครจักขิณ กษัตริย์ปกครองคือ ท้าวจักขิณ มีมเหสี และมีบุตรตรีชื่อ นางปทุมมา (นางคำกอง)
 
การดำเนินเรื่อง
          - มีผีฮุ้ง (แร้งยักษ์) สองผัวเมียบินมาจับกินชาวจักขินเป็นอาหารจนตายสิ้นทั้งเมือง เหลือแค่นางปัดทุมมา (คำกอง) ที่ก่อนท้าวจักขินตายได้เอานางไปซ่อนไว้ในกลองนางจึงรอดชีวิต
- เทวดาดลใจให้ท้าวจุลณีหลงป่าไปถึงนครจักขิน จนไปพบนางปทุมมาอยู่ในกลอง จึงเปลี่ยนชื่อว่า นางคำกอง และพากลับปัญจานคร แต่งตั้งให้เป็นมเหสีฝ่ายซ้าย
 
     การผูกปม / จุดวิกฤต
- พระอินทร์สั่งเทวบุตรทั้ง ๔ มาเกิดในท้องนางคำกอง นางอัคคีมเหสีเอกเกิดความอิจฉาริษยา นำเอาสุนัขมาแทนกุมารทั้ง ๔ และเอากุมารทั้ง ๔ ใส่ไหถ่วงน้ำ ท้าวจุลณีเข้าใจผิด จึงเนรเทศนางคำกองไปเป็นทาสเลี้ยงหมู
- ตา ยาย เฝ้าสวนพบกุมารทั้ง ๔ จึงนำมาเลี้ยง นางอัคคีรู้ข่าวจึงให้ทาสีนำขนมผสมยาพิษไปให้กุมารทั้ง ๔ กินจึงถึงแก่ความตาย กุมารทั้ง ๔ จึงไปเกิดเป็นจำปา ๔ ต้น นางอัคคีจึงได้สั่งคนไปโค่นและนำไปทิ้งลงน้ำ
- ฤาษีตาไฟจึงได้นำต้นจำปาทั้ง ๔ มาชุปชีวิตกลายเป็นคน และตั้งชื่อให้ว่า เสตราช ปิตราช สุวรรณราช และเพรชราช หลังจากนั้นพระอินทร์จึงแปลงร่างเป็นพราหมณ์นำเรือสำเภาพากุมารทั้ง ๔ ไปช่วยนางคำกอง
- ระหว่างการเดินทางกุมารทั้ง ๔ ได้แสดงฝีมือสู้รบกับยักษ์และมนุษย์ชนะ ได้ครอบครองเมืองทั้ง ๓ และได้ธิดาของเมืองต่างๆ เป็นชายา 
 
การปิดเรื่อง / การคลายปม
- กุมารทั้ง ๔ เดินทางถึงปัญจานคร ช่วยนางคำกอง ได้พบกับบิดา และเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง นางอัคคีได้รับโทษไปเป็นทาสเลี้ยงหมูตลอดชีวิตแทนนางคำกอง
- ภุมารทั้ง ๓ ลากลับไปหาชายา และครองเมืองของตน ท้าวเพรชราชครองเมืองปัญจานคร ท้าวเพรชราชเดินป่าหาคู่ครอง ผ่านไปที่เมืองจักขิณ จึงได้ใช้นิ้วเพรชชุปชีวิตชาวเมืองจักขิณกลับคืนมาทั้งหมด และได้ชายา ๒ องค์ คือ นางปทุมเกษร และนางอัสมาลา ได้โอรส ๒ องค์ วรรณไกรสร และอัสราชกุมาร
- ท้าวเพรชราชพาชายาทั้งสอง และโอรสกลับไปที่เมืองปัญจานคร ระหว่างทางได้พบพี่ทั้ง ๓ พร้อมโอรส จึงพร้อมกันเข้าเฝ้าท้าวจุลณี และท้าวจุลละนีพานางคำกอง โอรส สะใภ้และหลานเดินทางไปเยี่ยมท้าวจักขิณ แล้วทุกคนจึงลากลับเมืองของตน และครองบ้านเมืองอย่างมีความสุข
 
๒.๔  ตัวละคร
ตัวละครเอก

- ท้าวจุลนี กษัตริย์แห่งเมืองปัญจานคร มีมเหสีชื่อ นางอัคคี
 - นางอัคคี เป็นมเหสีฝ่ายขวาของท้าวจุลนี แห่งเมืองปัญจานคร
 - ท้าวกรุงจักขิน เป็นกษัตริย์แห่งกรุงขิน มีมเหสีชื่อนางแก้วเทวี มีธิดาชื่อนางปทุมมา (นางคำกอง)
- นางแก้วเทวี เป็นมเหสีของท้าวจักขินกษัตริย์แห่งเมืองจักขิน มีธิดาชื่อนางปทุมมา (นางคำกอง)
- นางปทุมมา (นางคำกอง) เป็นธิดาของกษัตริย์เมืองจักขิน และเป็นมเหสีองค์ที่สองของท้าวจุลนี   เป็นผู้ให้กำเนิดกุมารทั้ง ๔ ที่ตายไปเกิดเป็นต้นจำปา ๔ ต้น และคืนชีพกลับเป็นมนุษย์อีกครั้ง
- เสกราชกุมาร กุมารองค์ที่ ๑ ต้นจำปาขาวอ่อนสีบริสุทธิ์
- ปัตตะราชกุมาร กุมารองค์ที่ ๒ ต้นจำปาสีเหลือง
- สุวรรณกุมาร กุมารองค์ที่ ๓ ต้นจำปาสีนิล
- เพชรราชกุมาร กุมารองค์ที่ ๔ ต้นจำปาสีแดง เป็นผู้มีฤทธิ์เดชมาก เพราะตอนที่ตาเถรศิษย์พระฤาษี ไปดึงดอกจำปาออกมายางเหนียวมาก เมื่อดึงขาดแล้วยางจำปา เป็นสีเลือดเมื่อพระฤาษีชุบชีวิตคืนแล้วยังมือข้างขวาด้วน พระฤาษีต้องทำพิธีปลุกเสกใหม่ นิ้วด้วนจึงกลายเป็นนิ้วมงคลเพชร ชี้คนเป็นให้ตาย ชี้คนตายให้ฟื้นจากการประสิทธิ์ประสาทศิลปวิทยาคมของพระฤาษี
 
ตัวละครรอง
- ฤาษีตาไฟ ผู้ชุบชีวิตกุมารทั้งสี่คืนชีพ และตั้งชื่อกุมารทั้งสี่คนที่ ๑ ชื่อ เสกราชกุมาร คนที่ ๒ ชื่อ ปัตตะราชกุมาร คนที่ ๓ ชื่อ สุวรรณกุมาร คนที่ ๔ ชื่อ เพชรราชกุมาร
- เทวดาอินทร์ พรหม ครุฑ ได้บันดาลให้จำปาไหลทวนน้ำขึ้นไปพบกับฤาษีตาไฟ
- สองตายาย สองตายายที่อยู่ดูแลรักษาสวน ผู้พบไห และนำเอากุมารทั้ง ๔ ไปเลี้ยง
- ผีฮุ้ง สองสามีภรรยา ที่มาทำร้ายจับกินชาวเมืองจักขิน
 
๒.๓ การใช้ภาษา    
                 มีการใช้ภาษาในการเขียนแบบร้อยกรองคือเป็นนิทานคำกลอนภาคอีสาน และใช้คำภาษาอีสานในการเขียนเรื่องซึ่งมีความโดดเด่นทางภาษา มีการเรียบเรียงเนื้อหาเหมือนร้อยแก้วเพื่อให้อ่านง่ายและในนิทานพื้นบ้านเรื่อง จำปา ๔ ต้น ยังมีการใช้โวหารภาพพจน์หรือภาพพจน์เป็นกลวิธีทางภาษาที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจและเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร เนื้อเรื่อง และการบรรยายฉาก ให้แจ่มแจ้งทั้งความโดยตรงและความหมายโดยนัย แฝงเร้นข้อคิด คุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิต พร้อมทั้งเน้นให้ผู้อ่านเกิดทั้งอรรถรสและสุนทรียรสในการสื่อสาร อันเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งทางวรรณศิลป์ ที่แสดงให้เห็นถึงความไพเราะงดงามในการใช้ภาษาถิ่นอีสารสื่อเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ 

๒.๔ ฉากและสถานที่
            ฉากหลัก
                        - ฉากเมืองปัญจานคร บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ มีกษัตริย์ปกครองชื่อ ท้าวจุลนี และมีมเหสีชื่อนางอัคคี ตัวอย่างฉากในวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง จำปา ๔ ต้น
            ปางนั้นยังมีนคเรศกว้างชื่อว่าปัญจา มีพระยาครองสืบเมืองเป็นเจ้า ชื่อว่าจุลละนีท้าวองค์กษัตริย์ตราองค์เอกอุภิเศกขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดิน ท้าวกะมีคู่ซ้อนองค์เอกมะเหสีชื่อวานางอัคคีฮูปสวยเสมอแต้ม นับแต่สองทงสร้างปัญจานคเรศ ก็บ่มีเหตุฮ้อนเคืองแค้นสิ่งใด อันวาขงเขตค่ายก้ำก่ายอาณาจักรของนคร ปัญจาโยชน์ยาวไกลเยิ้นเป็นที่ดินดาอุดมทั่วประเทศฯ
                        - ฉากเมืองจักขิน มีกษัตริย์ปกครองชื่อท้าวจักขินมีมเหสี และธิดาชื่อนางปทุมมา บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ภายหลังเกิดเหตุภัยร้ายแรงมีผีฮุ้งมาทำลายบ้านเมือง จับกินกษัตริย์และชาวเมืองจนหมด เหลือเพียงแค่นางปทุมมาธิดาของท้าวจักขินที่รอดชีวิต ตัวอย่างฉากเช่น
            ครั้งนั้นยังมีเมืองใหญ่กว้างติดเขตพรมแดนกับนครปัญจาห่างไกลคราวเยิ่นเมืองนั้น มีนามเอิ้นจักขินนคเรศพื้นเขตใต้ไกลกว้างโยชน์ยาว อันวาภูบาลท้าวครองเมืองตุ้มไพร่องค์เอกไท้เป็นเจ้าแผ่นดิน ชื่อว่าจักขินท้าวกะษัตราเสวยราช เป็นอาจสร้างนคเรศกว้างนั่งทงมะเหสีแล้วเทวีเทียมพ่าง
            ฉากรอง
- ฉากบ้านตายายเฝ้าสวนดอกไม้ เป็นฉากที่สองตายายเฝ้าสวนพบกุมารทั้งสี่ลอยมาตามน้ำ จึงเก็บมาเลี้ยงเป็นลูกชายทั้งสี่ของตากับยาย ตัวอย่างฉากดังนี้
บัดนี้จักกล่าวถึงไอยะกาเฒ่าจำสวนยายย่าก่อนแหล้วจำสวนรักษา สวนดอกไม้พระยาเจ้าพร่ำนานนับแต่ผัวเมียสร้างดอมกันสมสู่อยู่จนหัวหงอกแล้วหนังเนื้อเหี่ยวยาน ตั้งหากดูนานแท้หลายปีเป็นขนาดก็บ่มีลูกเต้าแทนเชื้อสืบแนว แต่นั้นไอยกาเฒ่านายสวนตนย่า ลาวกะหาบคุได้ลงเล่นท่าเพียง ก็จึงเห็นไหเจ้ากุมารทั้งสี่ ลอยล่องค้างในน้ำท่าเพียงฯ.......
-ฉากเรือสำเภา เป็นฉากที่เทวดาแปลงลงมาพากุมารทั้งสี่กลับบ้านเมือง ตัวอย่างฉากดังนี้
เมื่อนั้นสะเภาทองท้าวสักโกเทวราช กับทั้งฝูงนาถน้อยกุมารท้าวล่วงไป เลยเถิงเท่าแดนผีเขตด่าน มีศาลาใหญ่กว้างคนเฝ้าอยู่เต็ม


บทที่ ๓
                                                      ความโดดเด่นของโครงเรื่อง
.๑ ความโดดเด่นของโครงเรื่อง
            วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานเรื่อง จำปา ๔ ต้น เป็นโบราณคดีชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่งของภาคอีสาน แต่เดิมนั้นมีอยู่ในใบลาน จารเป็นอักษรไทยน้อย ซึ่งถือว่าเป็นวรรณกรรมที่ชาวอีสานนิยมอ่าน มีโครงเรื่องที่โดดเด่นทั้งเรื่องความรัก โศกเศร้า ตื่นเต้น มีการรบทัพจับศึกอย่างดุเดือด และมีแก่นเรื่องที่ให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิต ให้กระทำความดีละเว้นความชั่ว หรือให้ข้อคิดกับผู้อ่านเรื่อง การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ให้ผู้อ่านนำเอาข้อคิดไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

บทที่ ๔
การนำไปประยุกต์ใช้

 
๔.๑ หมอลำเรื่อง จำปาสี่ต้น คณะศิลปินภูไท เผยแพร่เมื่อ ๑๑ พ.ย. ๒๐๑๕

 

เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch
๔.๒ ละครสี่ยอดกุมาร  (จำปาสี่ต้น)  เผยแพร่เมื่อ ๘ มี.ค. ๒๐๑๑ 
 
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=MCWaunK  (บริษัท สามเศียร)
 
 ๓. หนังสือผูกเรื่อง จำปาสี่ต้น พบที่ ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ จารึกบนใบลานด้วยอักษรไทยน้อย เป็น
นิทานเลียนแบบชาดก

 

เว็บไซต์ http://www.nithan.in.th/
๔.  นิทานภาษาอังกฤษ จำปาสี่ต้น วันศุกร์ที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖  
(อังศินา  สิทธิพูนอนภาพ)  


 เว็บไซต์ http://angsinasitta.blogspot.com
 
๕.  วรรณกรรมอีสานจำปาสี่ต้น อักษรธรรม ๑ ผูก วัดทุ่งศรีเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ. อุบลราชธานี


 
                                         เว็บไซต์ http://www.baanmaha.com/community/threads

๖.  เทศธรรมเมืองเหนือ เรื่อง "จำปาสี่ต้น"  เผยแพร่เมื่อ ๑๒-ก.ย.-๒๐๑๑
โดย พระอธิการ นิราศ ฐิตมโน  วัดป่าเคาะ ต.บุญเรือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย 
 เว็บไซต์ http://audio.palungjit.org
๗.  ละครเวที ฟายเฟือยฟ้อน ยอกรสืบสาน นิทานพื้นภูมิผญา จำปาสี่ต้น  ศิลปกรรมศาสตร์ 
หอประชุมวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 


                                            เว็บไซต์ http://picpost.postjung.com/๒๗๔๗๐๑.htm



 
Infographics สรุปวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง จำปา ๔ ต้น






                                                                                                         อมรรัตน์    คำอยู่ ชั้นปีที่ ๓ หมู่ ๒