วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

เพลงประกอบการละเล่นพื้นบ้าน



เพลงประกอบการละเล่นพื้นบ้าน
เพลงประกอบการละเล่นภาคเหนือ

เตยหรือหลิ่น

 ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัดตาก 
สถานที่เล่น: ลานกว้าง ที่โล่งแจ้ง
จำนวนผู้เล่น ๖-๑๒ คน 
วิธีเล่น
            ขีด เส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น (สมมติว่ามี ๖ คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง) อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหล หรือ หลิ่น ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย ก็จะเป็นฝ่ายชนะ 
โอกาส
เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป



 การละเล่นไม้หึ่ง หรืออีหึ่ง




ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัดกำแพงเพชร อุปกรณ์และวิธีการเล่น
            อุปกรณ์ ใช้ไม้ ๒ ชิ้น คือ ไม้แม่ ทำด้วยกิ่งไม้ที่หาง่ายและเหนียว มีขนาด เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑นิ้ว หรือใกล้เคียง ยาวประมาณ ๑ ศอก และ ไม้ลูก อาจนำจากไม้ท่อนเดียวกันด้านปลายของไม้แม่ยาวประมาณ ๑ คืบ ไม้ที่สามารถทำได้ เช่น ไม้มะขาม ไม้ฝรั่ง หรือไม้ไผ่ลำเล็ก ตัน คือ เป็นไม้ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น นิยมใช้ไม้สดด้วยเป็นไม้ที่ยังมีน้ำหนักและเหนียวไม่เปราะเหมาะสมกับกระบวน การเล่น
วิธีการเล่น โดยการแบ่งฝ่ายละเท่า ๆ กัน เช่น ๒ ต่อ ๒ หรือ ๓ ต่อ ๓ ฝ่ายได้เล่นก่อนจะทำการขุดร่องที่พื้นดินแข็งให้เป็นร่องยาวประมาณ ๑ คืบ ลึก ๑ นิ้วครึ่ง เป็นรางคล้ายเรือ หรือ พอเพียงกับการงัดไม้ลูกได้จากนั้นฝ่ายเริ่มจะวางไม้ลูกขวางร่องหลุมที่ขุด ไว้ แล้วใช้ไม้แม่งัดออกไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากหรือโต้กลับยาก ขณะที่งัดไม้ลูกออกไปนั้น ฝ่ายรับสามารถใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ปกป้องหรือตีโต้กลับไปยังหลุมงัด หรือใช้มือรับ จากนั้นฝ่ายเริ่มต้องวางไม้แม่ไว้ที่หลุม ฝ่ายรับจะโยนไม้ลูกให้กลับมาให้ถูกหรือปะทะให้ไม้แม่ที่วางอยู่เพื่อการชนะ ถ้าสามารถโยนลูกปะทะไม้แม่ก็จะได้กลับมาเป็นผู้เริ่มหรือผู้เสริฟ แต่ถ้าโยนไม่ถูกไม้แม่ฝ่ายเริ่มก็จะได้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป คือ นำไม้ลูกขึ้นมาเดาะโดยใช้ไม้แม่เดาะไม้ลูกให้ได้จำนวนครั้งให้ได้มากที่สุด ถ้าเดาะได้ถึง ๓ ครั้งก็จะได้ตีลูกออกไปถึง ๓ ครั้ง การตีจะ
            พยายามตีลูกออกไปยังฝ่าย ตรงข้ามให้ได้ระยะไกลที่สุดและไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ เพราะถ้ารับได้ก็จะต้องแพ้และกลับมาเป็น ผู้เริ่ม แต่ถ้ารับไม่ได้ฝ่ายเริ่มเดิมก็จะให้ตีไม้ต่อไปจนให้ครบ ๓ ครั้ง และฝ่ายรับก็จะนำไม้ลูกนั้นวิ่งกลับมายังหลุมโดยกลั้นหายใจและออกเสียงมาทาง จมูกให้มีเสียง หึ่ม มาตลอดระยะการวิ่ง ถ้าเล่นฝ่ายละหลายคนก็สามารถส่งต่อไม้กันได้และผู้รับต่อก็จะต้องหึ่มต่อ เช่นกัน ห้ามขาดเสียงหึ่มในขณะวิ่งกลับถ้าขาดเสียงหึ่มก็ถือว่าฟาวล์หรือแพ้ในเกม นั้น ผู้เริ่มเดิมก็จะได้เล่น แต่ถ้าผู้หึ่มสามารถวิ่งหึ่มมาถึงหลุมได้ก็จะชนะได้เป็นผู้เริ่มเล่นใหม่โดย ใช้วิธีเดิม (การเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่นได้)
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
            เป็นการเล่นของเด็กเล็กและเด็กโตประมาณ ๗ - ๑๕ ขวบ สามารถเล่นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายเล่นในยามว่างเพื่อสันทนาการ ความสนุกสนาน และแข่งขันกันในหมู่เล็ก สถานที่ใช้เล่นจะต้องมีบริเวณลานกว้างพอ เช่น สนามหน้าโรงเรียน ลานบ้านในหมู่บ้าน หรือลานวัด












โพงพาง








ภาค: ภาคเหนือ 
จังหวัด: ตาก 
สถานที่เล่น: สนาม,ลานกว้าง 
อุปกรณ์: ผ้าปิดตา 
จำนวนผู้เล่น: ไม่จำกัดจำนวน 
กติกา

ใครถูกจับได้ และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทน
วิธีเล่น            
หาคนที่เป็นปลาโดยการจับไม้สั้น ไม้ยาว เอาผ้าผูกตาคนที่เป็นปลา แล้วหมุน 3 รอบ ผู้เล่นคนอื่นๆ ล้อมวงจับมือกันเดินเป็นวงกลม พร้อมกับร้องเพลงประกอบ เมื่อจบเพลงถามว่า ปลาเป็นหรือปลาตายถ้าตอบว่า ปลาเป็น คนที่อยู่รอบวงจะขยับเขยื้อนหนีได้ ถ้าบอกปลาตายจะต้องนั่งอยู่เฉยๆ หากคนที่ถูกปิดตาทายถูกว่าผู้ที่ตนจับได้เป็นใคร ผู้ที่ถูกจับนั้นก็ต้องมาเป็นปลาแทน ถ้าทายผิดก็ต้องเป็นต่อไป
ทร้องประกอบการเล่น                                                                                 
"โพงพางเอย ปลาเข้าลอด  ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง  โพงพางเอย นกกระยางเข้าลอด  เสือปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง   กินปลาเป็นหรือกินปลาตาย"                                                                             
ประโยชน์ การละเล่นชนิดนี้ฝึกความสังเกต ความจำ และความมีไหวพริบ                                                                                         
โอกาส
เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป



เพลงสำหรับเล่นจ้ำจี้

            เป็นเพลงที่ใช้เพื่อคัดหาผู้มาทำการบางอย่าง เช่น หาคนมาเพื่อปิดตา เป็นต้น เช่น

1.       ปู่พงข้ามท่งข้ามนา ตีกลองปูชา เอาอี่พาออกก่อน

2.       ปะเปิ้มใบพลู คนใดมาชู เอามือออกก่อน

3.     เมื่อเหลือสองคนสุดท้ายแล้ว ก็มักจะร้องว่า สองฅนพี่น้อง กินเข้ากับเกลือ ฅนใดเหลือ ฅนนั้นได้อุ่ม









   

  เพลงประกอบการละเล่นภาคกลาง

การละเล่นภาคกลาง จ้ำจี้มะเขือเปราะ



เพลงจ้ำจี้มะเขือเปราะ
"จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น
พายเรืออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม
สาวๆ หนุ่มๆ อาบน้ำท่าไหน
อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด
เอากระจกที่ไหนล่อง เยี่ยมๆ มองๆ นกขุนทองร้องฮู้
จำนวนผู้เล่น ประมาณ 2-3 คนขึ้นไป

วิธีเล่น

ผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน คว่ำมือทั้งสองลงบนพื้น คนหนึ่งเป็นคนจี้ โดยใช้นิ้วชี้จิ้มไปที่นิ้วของผู้เล่นไล่ไปทีละนิ้วให้รอบวง พร้อมทั้งร้องเพลงไปด้วย เมื่อร้องจบแล้ว จิ้มอยู่ที่นิ้วใดคนนั้นต้องพับนิ้วนั้นเข้าไป ผู้จิ้มก็เริ่มเล่นใหม่ไปเรื่อยๆ ใครต้องพับนิ้วทั้งหมดเป็นคนแรกแพ้





เพลงประกอบการละเล่นภาคกลางูกินหาง



เพลงประกอบการเล่น
พ่องู :
แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน
แม่งู :
กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมาพร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู :
แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน
แม่งู :
กินน้ำบ่อหินบินไปบินมาพร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู :
แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน
แม่งู :
กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมาพร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู :
กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว
วิธีการเล่น
ผู้เล่นมีจำนวน 8-10 คน แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย
ฝ่ายที่ 1 จะต้องเป็น
พ่องู1 คน ฝ่ายที่ 2 มี แม่งู1 คน ที่เหลือเป็น ลูกงูซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้องเกาะเอวผู้เล่นเป็นแม่งู
จากนั้น พ่องูเริ่มถามว่า
แม่งูเอ๋ยแม่งูและลูกงูก็ร้องตอบว่า เอ๋ยพอช่วงท้ายพ่องูถามว่า กินหัว กินหางแม่งูตอบว่า กินกลางตลอดตัวพ่องูก็จะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อป้องกันลูก หากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุดออกจากแถวไป ก็จะต้องออกจากการเล่น
ผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีกจนกว่าลูกงูจะถูกจับจนหมด



เพลงประกอบการละเล่นภาคกลาง มอญซ่อนผ้า
      

  เพลงประกอบการเล่น
        "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง  ใครเผลอคอยระวัง ใครเผลอคอยระวัง ตุ๊กตาอยู่ข้างหลังระวังจะถูกตี”  

อุปกรณ์
        ผ้าเช็ดหน้าขนาดใหญ่หนึ่งผืน ไม่ต้องขมวดหรือพันให้เป็นเกลียว เพราะถ้าฟาดถูกผู้ใดเข้าแล้วจะเจ็บ

        
วิธีเล่น
        ขั้นที่ ๑ ให้ผู้เล่นทั้งหมดจับไม้สั้นไม้ยาว ผู้ที่ได้ไม้สั้นที่สุด ถือผ้าเช็ดหน้าที่เตรียมไว้แล้วออกไปยืนข้างนอก ที่เหลือนอกนั้นนั่งกันเป็นวงกลม หันหน้าเข้าหากัน ในระยะห่างกันประมาณ ๑ ศอก เอามือทั้งสองพาดไว้ที่ตัก คุยกันหรือร้องเพลงก็ได้ เพื่อความรื่นเริง
        ขั้นที่ ๒ ให้ผู้ถือผ้าบังตัวไว้มิให้ผู้นั่งเห็นได้ถนัด แล้วเดินหรือวิ่งไปรอบๆ วงต้องทำท่าหรือหน้าตาให้สนิท เดินบ้างวิ่งบ้าง ทำเป็นวางผ้าแต่ไม่วาง เพื่อหลอกล่อผู้ที่นั่งให้เผลอตัวเมื่อเห็นเป็นโอกาสแล้วก็แอบหย่อนผ้าลงไว้ ใกล้หลังผู้นั่งคนใดคนหนึ่ง เมื่อวางผ้าแล้วควรเดินหรือวิ่งให้เร็วต่อไปเพื่อกลับถึงที่เดิมโดยมิให้ผู้ นั้นต้องรู้ตัว
        ขั้นที่ ๓ ถ้าผู้ถูกวางผ้าข้างหลังรู้สึกตัวเสียก่อนผู้วางผ้ามาถึง ก็ต้องรีบฉวยผ้าวิ่งมานั่งแทนที่ของตนได้ แล้วจึงเดินหาโอกาสวางผ้าไว้ข้างหลังผู้หนึ่งผู้ใดต่อไป แต่ถ้าถูกวางข้างหลังไม่รู้สึกตัว จนผู้ที่วางวิ่งมาถึงก็หยิบผ้าที่วางนั้นขึ้นฟาดผู้ถูกวางจนกว่าจะลุกขึ้น รับผ้าออกเดิน ผู้วางจึงลงนั่งแทนที่
ข้อระวังในการเล่น ผู้นั่งทุกคนจะหันหน้าไปดูข้างหลังไม่ได้ ถ้าหากสงสัยว่าจะมีผ้าอยู่ข้างหลังตนหรือไม่ก็ให้ใช้มือคลำดูเท่านั้น ผู้ถือต้องวางผ้าลงข้างหลังให้ใกล้ตัวผู้นั่ง จะวางเกินกว่า ๑ ศอกไม่ได้และให้วิ่งหรือเดินต่อไปข้างหน้าจนบรรจบรอบ จะหันหลังเดินย้อนมาไม่ได้
                                       

เพลงประกอบการเล่นภาคกลาง รีรีข้าวสาร


      เพลงประกอบการเล่น
       "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
       เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน
       คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว้"

  วิธีเล่น
      1. ผู้เล่น 2 คนยืนหันหน้าเข้าหากันโน้มตัวประสานมือกันเป็นรูปซุ้ม
      2. ส่วนผู้อื่นเกาะเอวต่อ ๆ กันตามลำดับ
      3. หัวแถวจะพาลอดใต้ซุ้มมือพร้อมกับร้องบทร้องประกอบการเล่น
      4.
เมื่อร้องถึงประโยคที่ว่า คอยพานคนข้างหลังไว้ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันคนสุดท้ายไว้ ซึ่งคนสุดท้ายจะถูกคัดออกไปจากแถว แล้วจึงเริ่มต้นเล่นใหม่ทำเช่นนั้นจนหมดคน

      
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
      1. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
      2. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
      3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
      4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้



เพลงประกอบการละเล่นภาคอีสาน

จี่จับ



ภาค      : ภาคอีสาน                                    
สถานที่เล่น   : สนาม,ลานกว้าง                
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวน 
กติกา
: ใครถูกจับได้ จะต้องเป็นหนอน วิธีเล่น            
หาคนที่เป็นผู้เอาฝ่ามือมาจับเพื่อนโดยการเล่น โออิหล่าตาแป๊ะ แล้วให้คนที่แพ้มาใช้มือคว่ำลงประมาณศีรษะ จากนั้นให้เพื่อนนำนิ้วชี้มาไว้ใต้ฝ่ามือของเพื่อน แล้วร้องเพลงเพื่อหาคนที่จะไปเป็นหนอน  นิ้วชี้ของใครถูกฝ่ามือเพื่อนจับไว้ได้ ก็เป็นหนอน  แล้วไปนับเลขหนึ่งถึงสิบเพื่อให้เพื่อนไปซ่อนตัว เมื่อนับครบถึงสิบก็ตามหาเพื่อน ถ้าเจอเพื่อนคนใดก็ให้บอกว่า โป้ง แล้วตามด้วยชื่อเพื่อน แล้วคนนั้นก็จะเป็นหนอน แต่ถ้ามีเพื่อนมาแตะเราได้ก่อนเราก็จะต้องเป็นหนอนต่อไป เพลงโออิหล่าตาแป๊ะ
            เป็นเพลงที่ใช้เพื่อคัดหาผู้มาทำการบางอย่าง เช่น หาคนแพ้             - โออิหล่าตาแปะ บทร้องประกอบการเล่นจี่จับ            
“จี่มะลี่จี่จับ   ไม้ล้มทับ  สวัสดีครับ  ผุได๋ถูกจับให้มู่แล่นลี้”
ประโยชน์
            การละเล่นชนิดนี้จะฝึกความมีไหวพริบ  รวดเร็ว  การสังเกต และเพื่อความสนุกสนาน
โอกาส
            เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป






 สมาชิกในกลุ่ม เพลงพื้นบ้าน
ประเภท เพลงประกอบการละเล่น

1. นางสาวสุธิดา            จันทะรา             รหัสนักศึกษา        57210406108          หมู่   1

2. นางสาวปณิดา           เผ่ามงคล            รหัสนักศึกษา        57210406109         หมู่  1
3. นายอภิศักดิ์              โถแก้วเขียว          รหัสนักศึกษา        57210406115          หมู่   1
4. นางสาวสุภาวดี           เวงวิถา              รหัสนักศึกษา        57210406126          หมู่   1
     5. นายณรงค์ชัย      รุทชาติ               รหัสนักศึกษา      57210406132          หมู่   1
6. นางสาวปิยะพร          ภูชมศรี               รหัสนักศึกษา        57210403424         หมู่  1
7. นางสาวญาณัฉรา       โถชัยคำ              รหัสนักศึกษา       57210406201          หมู่   2
8. นางสาวจินตนาพร       หล่อยดา            รหัสนักศึกษา        57210406202          หมู่  2
9. นางสาววิชุดา             ผาทอง              รหัสนักศึกษา        57210406208         หมู่   2
10. นางสาวอมรรัตน์       คำอยู่                รหัสนักศึกษา       57210406216           หมู่   2
  11. นางสาวปิยะดา          เสียงสาว            รหัสนักศึกษา       57210406227        หมู่  2 
12. นางสาวอินทุอร         กุลชโมรินทร์      รหัสนักศึกษา       57210406230        หมู่  2
  13 .นางสาวรัตชะตาพร     อิมเพชร์             รหัสนักศึกษา      57210406233        หมู่  2   

            นักศึกษาชั้นปีที่  3  

เสนอ
อาจารย์วัชรวร    วงศ์กันหา






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น